ภาวะ "ต่อมหมวกไตล้า" คืออะไร? อันตรายมั้ย? ต้องรักษาหรือแก้ไขอย่างไร?
- Prattana Nitijessadawong - Pin
- 1 พ.ค. 2565
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 5 มิ.ย. 2565

ภาวะต่อมหมวกไตล้า หรือ Adrenal Fatigue เป็นภาวะที่ร่างกายเสพติดความเครียด แบบไม่รู้ตัว จนความเครียดที่มีสูงนั้นไปรบกวนการทำงานของต่อมหมวกไต ส่งผลให้ฮอร์โมนต่อมหมวกไตไม่สมดุล ส่งผลให้เกิดอาการที่กระทบชีวิตประจำวันดังนี้

ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
ง่วงแต่นอนไม่หลับ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เครียด ซึมเศร้า
มีอาการวิงเวียนศีรษะเวลาลุก – นั่ง
อยากทานของหวานและของเค็ม
รู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อได้กินน้ำตาล
ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ ผิวแห้งและแพ้ง่าย
ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก
คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่น้ำหนักไม่ลด
ฮอร์โมนสำคัญของต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ปรับสมดุลความเครียด
ภาวะต่อมหมวกไตล้า ส่วนใหญ่มีเหตุสำคัญมาจากฮอร์โมน 2 ตัวนี้อยู่ระดับไม่สมดุล ซึ่งก็คือ คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone – DHEA) หรือที่เรียกว่า "ฮอร์โมนความเครียด"
Cortisol คือ ฮอร์โมนความเครียด (Stress Hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น แต่หากเรามีความเครียดสะสมเรื้อรัง พักผ่อนไม่พอ หรือออกกำลังกายเกินพอดี ระดับ Cortisol ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จะเริ่มส่งผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากฮอร์โมนตัวนี้มีฤทธิ์ในการสลายและทำลายล้าง (Catabolic Hormone) โดยเฉพาะสลายกล้ามเนื้อ และคอลาเจนใต้ผิว ทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว แต่ในทางกลับกันถ้ามี Cortisol น้อยเกินไปจะทำให้ไม่มีแรงลุกขึ้นจากที่นอนตอนเช้า ขาดความกระตือรือร้น และอ่อนเพลียตอนกลางวัน
DHEA คือ ฮอร์โมนต้านความเครียด (Anti – Stress Hormones) ที่มีฤทธิ์ในการเสริมสร้าง (Anabolic Hormone) ต้านฤทธิ์ของ Cortisol เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า สดชื่นช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ ลดไขมัน และชะลอความเสื่อมของร่างกาย (Delay Aging) อีกทั้งยังเป็นฮอร์โมนตั้งต้นของทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย (Pre – Sex Hormones)
การปรับพฤติกรรม เพื่อรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า
นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม
รับประทานอาหารเช้าก่อน 10.00 น. (หลัง 10.00 น. ระดับ Cortisol จะลดลง ทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ)
แบ่งการรับประทานอาหารเป็น มื้อเล็ก ๆ และบ่อย ๆ แทนการทานอาหารมื้อหลัก ๆ เพียง 1 – 2 มื้อ
ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง (Moderate Intensity Exercise) ไม่ออกกำลังกายหนักจนเกินไป เพราะการออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
หาวิธีคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกที่สบายใจทำ เดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น
อาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น Ashwagandha (โสมอินเดีย), L-theanine, Phosphatidylserine, วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6 เป็นต้น
หากไม่สามารถฝืนพฤติกรรมที่เคยชิน พร้อมความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ด้วยตัวเอง การปรึกษาแพทย์หรือผู้ชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำอย่างตรงจุด เป็นทางออกที่ดีกว่าการพยายามด้วยตัวเองคนเดียว

ปรารถนา นิธิเจษฎาวงศ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารบำบัดโรค
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ (ก.อช. 0961)

ปรึกษาภาวะต่อมหมวกไตล้า
30 นาที
コメント