"ต่อมหมวกไตล้า" กินอะไรดี?
- Prattana Nitijessadawong - Pin
- 19 พ.ค. 2565
- ยาว 2 นาที
อัปเดตเมื่อ 5 มิ.ย. 2565

ใครที่ประเมินอาการเบื้องต้นแล้วพบว่าตัวเองมีภาวะต่อมหมวกไตล้า อยากรู้ว่าต้องทำอย่างไร? ต้องทานอาหารแบบไหน? มาดูกันเลยค่ะ
สารอาหารกลุ่มไหนบ้างที่ช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้
Ashwagandha (โสมอินเดีย)
Ashwagandha คือ สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติที่ให้ฤทธิ์ในการความคุมและปรับสมดุลระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ช่วยปกป้องสมองจากการเสื่อมของเซลล์ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคทางระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s) และพาร์กินสัน (Parkinson’s) ช่วยลดอาการเหนื่อยล้าของต่อมหมวกไต ช่วยต่อสู้กับความเครียด และความวิตกกังวล ช่วยให้ควบคุมอารมณ์ได้คงที่ โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงแบบยา ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโดยการเพิ่มการผลิตอิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดที่เนื่องมากจากการอักเสบได้
L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว)
L-theanine เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง พบมากในชาเขียว L-theanine จะกระตุ้นการผลิตคลื่นสมองชนิดอัลฟา (Alpha wave) ซึ่งเป็นช่วงคลื่นสมองที่พบบ่อยในเด็กที่มีความสุข หรือขณะที่ร่างกายอยู่ในช่วงของการผ่อนคลาย รวมทั้งเป็นช่วงคลื่นที่สมองมีความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้และจดจำได้อย่างรวดเร็ว จึงมีคุณสมบัติช่วยทำให้ระบบประสาทและสมองผ่อนคลาย ช่วยปรับอารมณ์ ลดความกังวล ลดความเครียด ทำให้จิตใจสงบ และยังช่วยให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และมีความจำที่ดีขึ้น รวมถึงยังสามารถช่วยให้ประสิทธิภาพในการนอนหลับดีขึ้นอีกด้วย ระดับ L-theanine ที่มีความปลอดภัยและแนะนำให้บริโภค คือ 200-250 มิลลิกรัม/วัน แต่ไม่ควรเกิน 1,200 มิลลิกรัม/วัน
Vitamin C
ตามที่เราทราบกันดีว่า Vitamin C มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ และที่สำคัญ ศัตรูของวิตามินซีคือความเครียด และบุหรี่ ยิ่งเรามีความเครียดสูงวิตามินซีในร่างกายเราก็จะถูกใช้มากขึ้น อีกทั้งความเครียดก่อให้เกิดอนุมูลอิสระมาทำลายเซลล์ ร่างกายยิ่งต้องการสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซี มาปกป้องเซลล์มากยิ่งขึ้น แหล่งอาหารที่มีวิตามินซีสูงคือ มะขามป้อม ฝรั่ง พริกหวาน ผลไม้ตระกูลเบอรี่ และผักใบเขียว เป็นต้น ส่วนวิตามินซีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแคปซูล เม็ดฟู่ หรือผงละลายน้ำ ปริมาณที่แนะนำคือ 1,000 - 2,000 มิลลิกรัม/วัน ไม่ควรเกิน 4,000 มิลลิกรัม/วัน
Vitamin B3 (Niacin)
วิตามินบี 3 เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ มีความเสถียรมาก ทนต่อความร้อนจากการปรุงอาหารและการเก็บรักษาได้ดี เป็นวิตามินที่ร่างกายของเรานั้นสามารถสร้างขึ้นเองได้โดยใช้กรดอะมิโนที่ชื่อว่า ทริปโตเฟน แต่ในผู้ที่ร่างกายขาดวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 ร่างกายจะไม่สามารถสร้างวิตามินบี 3 จากทริปโตเฟนเองได้ วิตามินบี 3 เป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญพลังงานเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตและไขมันไปเป็นพลังงาน รวมถึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการซึมเศร้า ลดการอักเสบของข้อ คุณสมบัติหลักของวิตามินบี 3 ช่วยควบคุมการทำงานของสมองและระบบประสาท และเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนความเครียด หากร่างกายขาดวิตามินบี 3 ส่งผลให้บุคลิกภาพจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง วีนเหวี่ยง ควบคุมอารมณ์ยาก ซึมเศร้า สับสน และมีอาการผิวหนังอักเสบ ลอก ตกสะเก็ด เป็นแผลในปากบริเวณใต้ลิ้นหรือกระพุ้งแก้มได้ง่าย แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 3 ตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน เนื้อขาวจากสัตว์ปีก ตับ โฮลวีท จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง อะโวคาโด อินทผลัม ลูกพรุน มะเดื่อฝรั่ง (Fig) บริเวอร์ยีสต์ เป็นต้น วิตามินบี 3 ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ปริมาณที่แนะนำคือ 50-200 มิลลิกรัม/วัน ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน ศัตรูของวิตามินบี 3 ได้แก่ แอลกอฮอล์ น้ำ ยานอนหลับ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาในกลุ่มซัลฟา
Vitamin B5 (Pantothenic acid)
วิตามินบี 5 เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้จากจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรา แต่หากเรามีภาวะลำไส้เสียสมดุล หรือขาดวิตามินบี 12 วิตามินบี 9 วิตามินบี 7 ก็อาจเป็นสาเหตุให้ร่างกายเราขาดวิตามินบี 5 ได้เช่นกัน เนื่องจากวิตามินดังกล่าวมีความจำเป็นในการสังเคราะห์วิตามินบี 5 ในร่างกาย วิตามินบี 5 มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างเซลล์ต่าง ๆ และการเจริญเติบโตของร่างกาย ลดอาการปวดจากภาวะข้ออักเสบ ที่สำคัญมีส่วนช่วยในการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง และมีความจำเป็นอย่างมากต่อการทำงานของต่อมหมวกไต เพิ่มพลังในการทำงาน ช่วยลดความเครียด อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว และอาการอ่อนเพลีย จากภาวะต่อมหมวกไตล้าได้ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน และยังมีความสำคัญต่อการเผาผลาญเปลี่ยนไขมันและน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงาน แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 5 ตามธรรมชาติ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ตับ ไต หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่ว ผักสีเขียว กากน้ำตาลไม่บริสุทธิ์ บริเวอร์ยีสต์ เป็นต้น ปริมาณที่แนะนำคือ 10-300 มิลลิกรัม/วัน ยังไม่มีรายงานปริมาณสูงสุดที่อาจก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย ศัตรูของวิตามินบี 5 คือ ความร้อน แอลกอฮอล์ คาเฟอีน ยานอนหลับ ยาในกลุ่มซัลฟา และฮอร์โมนเอสโตรเจน
Vitamin B6 (Pyridoxine)
วิตามินบี 6 เป็นโคเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการเผาผลาญ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ช่วยสร้างสารสื่อประสาท Serotonin ที่ช่วยปรับความรู้สึกและมีผลต่ออารมณ์ไปในทางบวก เช่น ความสุข ความสงบ ใจเย็น มีสมาธิ อารมณ์คงที่ไม่หวั่นไหวง่าย และช่วยควบคุมการทำงานของสมองและเนื้อเยื่อให้ทำงานเป็นปกติมากขึ้น วิตามินบี 6 เป็นสารสำคัญในการสังเคราะห์วิตามินบี 3 ในร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดอาการเป็นตะคริวและแขนขาชา แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 6 ตามธรรมชาติ ได้แก่ เนื้อปลา ไข่ไก่ ตับ ข้าวไม่ขัดสี นม ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ผลวอลนัท รำข้าว ยีสต์ แคนตาลูป กากน้ำตาล กะหล่ำปลี เป็นต้น ปริมาณที่แนะนำคือ 100-300 มิลลิกรัม/วัน ยังไม่มีรายงานปริมาณสูงสุดที่อาจก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย ศัตรูของวิตามินบี6 คืออุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป ความชื้น แอลกอฮอล์ และฮอร์โมนเอสโตรเจน
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ? การเลือกวัตถุดิบที่จะมาสร้างเมนูอาหารสำหรับลดอาการต่อมหมวกไตล้า ไม่ยากใช่มั้ยคะ? แต่ถ้าใครไม่สะดวกเลือกวัตถุดิบในการปรุงอาหาร หรือไม่ได้ทำอาหารเอง เพื่อความสะดวกก็อาจจะหาซื้อเป็นสารสกัดในรูปแบบแคปซูลรับประทาน ก็เป็นอีก 1 วิธีในการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์ได้ค่ะ แต่หากไม่มั่นใจ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมตรงไหน สามารถทำนัดเข้ามาปรึกษาตามคอร์สด้านล่างได้เลยนะคะ

ปรารถนา นิธิเจษฎาวงศ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารบำบัดโรค
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ (ก.อช. 0961)

ปรึกษาภาวะต่อมหมวกไตล้า
30 นาที
Comments